สว่านมือ, โยนจี(คำเมือง)

สว่านมือมีลักษณะเป็นแท่งไม้ที่ต้องทำมาจากไม้สักเท่านั้น เพราะไม้สักมีความมัน ลื่น และรูปทรงไม่บิดเบี้ยว สว่านมือมีขนาดด้ามเล็กพอดีมือม้วนเป็นเกลียวยาวประมาณ 39 เซนติเมตร ส่วนปลายมีเข็มสำหรับไว้ใช้เจาะรูไม้ที่ใช้ในการทำโครงร่ม ลักษณะปลายเข็มเป็นทรงสามเหลี่ยมไม่กลมเพราะไม้ที่ใช้ในการทำโครงร่มเป็นไม้ที่มีความบางเฉียบการใช้เข็มปลายสามเหลี่ยมจะทำเจาะรูไม้ได้อย่างง่าย ทำให้ไม้ไม่แตกออกจากกัน ส่วนวิธีการใช้สว่านมือนั้นใช้โดยการเจาะเข็มลงไปในตำแหน่งที่ต้องการเจาะรู ตรงสว่านมือจะมีตัวดึงสว่าน ให้ดึงขึ้น-ลง ตามเกลียวของสว่าน โดยก่อนจะเจาะรูซี่ไม้โครงร่มนั้นจะต้องทำการมัดซี่ไม้ติดกันตามจำนวนโครงร่มในแต่ละขนาดให้แน่นก่อนจะทำการเจาะเพื่อง่ายต่อการเจาะซี่โครงร่มให้ตรงกันทุกรู ซึ่งข้อดีของการใช่สว่านมือ คือ เนื่องจากไม้ไผ่ที่ที่เหลาเป็นซี่ร่มแล้ว จะค่อนข้างบาง โดยเฉพาะส่วนที่ผ่าร่องไม้แล้ว ดังนั้น การใช้เครื่องเจาะ หรือสว่านมอเตอร์ จะเกิดการสั่นสะเทือน และทำให้ซี่ไม้ไผ่แตกง่าย)

ขนาด

ลักษณะเป็นแท่งไม้เป็นเกลียวยาวประมาณ 39 เซนติเมตร ส่วนปลายเป็นเข็มแหลมคมลักษณะทรงสามเหลี่ยม มีตัวหมุนเกลียวสว่านสำหรับดึงขึ้นลงเพื่อใช้เจาะรูซี่โครงร่ม

สถานที่จัดเก็บต้นฉบับ

ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม